วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คำมูล-คำประสม





         คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็คำ " พยางค์ " เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
"พยางค์"
        คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ วิธีนับว่ามีกี่พยางค์นั้นโดยเมื่อเราอ่านออกเสียง 1 ครั้ง ถือว่าเป็น 1 พยางค์ ถ้าออกเสียง 2 ครั้งถือว่าเป็น 2 พยางค์

         เช่น สิงโต (สิง-โต) มี 2 พยางค์
         จักรวาล (จัก-กระ-วาน) มี 3 พยางค์
         มหาวิทยาลัย (มะ-หา-วิด-ทะ-ยา-ลัย) มี 6 พยางค์ เป็นต้น

คำมูลแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
                  1. คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คำไทยแท้ ) ฟรี,ไมถ์,ธรรม ( คำที่มาจากภาษาอื่น )

        ตัวอย่างของคำมูล
        ภาษาไทย - พ่อ แม่ หมู หมา แมว น้อง
        ภาษาจีน - เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม
        ภาษาอังกฤษ - ไมล์ เมตร ปอนด์ ฟุต
                  2. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ หรือกล่าวได้ว่า คำมูล คือคำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
         2.1 ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ " จิ้ง " และ " หรีด " ต่างก็ไม่มีความหมาย
         2.2 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ " ยา " มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
         2.3 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย เช่น
         นารี จะเห็นว่าพยางค์ " นา " มีความหมายเกี่ยวกับที่นา ที่ชาวนาทำนากัน แต่สำหรับ " รี " ก็มีความหมายไปในทางที่มีรูปร่างไม่กลม ไม่ยาว เรียกว่า รูปวงรี แต่เมื่อรวม " นา " กับ " รี " เข้าด้วยกัน คือ นารี แล้วจะแปลว่า ผู้หญิง ซึ่งความหมายของ นารี ไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของพยางค์ " นา "และ " รี " เลย

ข้อสังเกตคำมูล
         คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น
         มะละกอ = คำมูล 3 พยางค์         นาฬิกา = คำมูล 3 พยางค์
         มะ = ไม่มีความหมาย          นา = มีความหมาย
         ละ = ไม่มีความหมาย          ฬิ = ไม่มีความหมาย
         กอ = มีความหมาย             กา = มีความหมาย  



เมื่อเรามีความคิดใหม่ๆ และความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้น เราก็มีวิธีคิดคำเพิ่มขึ้น โดยนำเอาคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมกันเรียกว่า คำประสม เกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ขึ้น เช่น พัดลม เตารีด ไฟฟ้า ตู้เย็น ลูกคิด ตากล้อง ผู้แทน เรือบิน รถราง น้ำอัดลม ฯลฯ 

คำประสมที่เกิดความหมายใหม่ขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับความหมายเดิมในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ความหมายของคำประสมมีเค้าความหมายเดิมของคำมูลมารวมกันโดยตรง เช่น รองเท้า ไม้แขวนเสื้อ ไม้กวาด


  2. ความหมายของคำประสมในทำนองเปรียบเทียบ เช่น หางเสือ ลูกเสือ หัวแข็ง ปากแข็ง ปากกา และบางคำเป็นสำนวน เช่น ยกเมฆ ชักดาบ โคมลอย น้ำพักน้ำแรง ล่มหัวจมท้าย ฯลฯ


  3. คำประสมที่เกิดจากนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือความหมายคล้ายกันมาซ้อนกันเป็นคำขึ้นเช่น ว่องไว ว่ากล่าว เหลียวแล ช้านาน ถ้อยคำ วิ่งเต้น รูปภาพ เรือนหอ ฯลฯ


  4. นำคำมูลที่มีความหมายกว้างๆ มาประสมกับคำมูลคำอื่นๆ ทำให้เกิดความหมายเฉพาะขึ้น เช่น
    • ชาว (ย่อมาจากผู้ที่อยู่) เช่น ชาวบ้าน ชาวเขา ชาวเกาะ

    • นัก (ย่อมาจากผู้ที่กระทำ) เช่น นักเรียน นักร้อง นักดนตรี

    • เครื่อง (ย่อมาจากสิ่งที่ประกอบกันหรือของที่เข้าสำรับกัน) เช่น เครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกีฬา เครื่องเขียน

    • ช่าง (ย่อมาจากผู้ที่ชำนาญ) เช่น ช่างกล ช่างยนต์ ช่างเครื่อง

    • ที่ (ย่อมาจากตำแหน่งหรือถิ่น) เช่น ที่นอน ที่อยู่

    • ผู้ เช่น ผู้หญิง ผู้ใหญ่ ผู้น้อย



คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น

มะละกอ = คำมูล 3 พยางคนาฬิกา = คำมูล 3 พยางค์
มะ = ไม่มีความหมายนา = มีความหมาย
ละ = ไม่มีความหมายฬิ = ไม่มีความหมาย
กอ = มีความหมายกา = มีความหมาย


  1. คำประสมจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เครื่องอบผ้า เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ

  2. คำประสมเป็นคำเดียวกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ ความหายจะไม่เหมือนเดิม เช่น นางแบบ รับรอง มนุษย์กบ คำประสมจะเป็นคำใหม่เกิดขึ้น

  3. วิธีสังเกตค่ำประสมนักจะมีลักษณะนามให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น ใบนี้ คนนี้ ชุดนี้ ฯลฯ เช่น วันนี้ไม่มีคนใช้คนนี้เลย (คำประสม)

  4. คำประสมที่ขึ้นตนด้วยคำว่า "ลูก แม่" ต้องหมายถึงคนจึงจะเป็นคำประสม เช่น ลูกเสือ (คน) แม่มด (คน) ถ้าเป็นลูกของเสือ แม่ของมด จะเป็นคำเรียงกันธรรมดา ยกเว้น ลูกน้ำเป็นคำประสม เพราะมีความหมายเปลี่ยนไป ไม่ใช่ลูกของน้ำ แต่เป็นลูกของยุง เป็นต้น

8 ความคิดเห็น: